วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

สารชีวโมเลกุล-คาร์โบไฮเดรต


      สารชีวโมเลกุล
สารชีวโมเลกุล ( biomolecules) เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก และธาตุอื่นๆ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน กำมะถัน และฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบร่วมอยู่ด้วย สารชีวโมเลกุลมีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่มาก(macromolecules) สารชีวโมเลกุลแต่ละชนิดจะมีโครงสร้าง สมบัติและปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน เราจึงพบว่าสารชีวโมเลกุลมีหน้าที่และประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกัน สารชีวโมเลกุลบางชนิดเป็นสารที่ให้พลังงาน เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แต่บางชนิดไม่ให้พลังงาน เช่น วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ เป็นต้น
สารชีวโมเลกุลจำแนกตามลักษณะโมเลกุลเชิงซ้อนออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrates)
2. โปรตีน(proteins) 
3. ไขมันและน้ำมัน หรือ ลิปิด (lipids)
4. กรดนิวคลีอิก (nucleic acids) 
คาร์โบไฮเดรต(carbohydrates) หรือ แซ็กคาไรด์ (saccharide) ถ้าแปรตรงความหมายจะเรียกว่าคาร์บอนที่อิ่มด้วยน้ำ เป็นสารอาหารที่พบในอาหารเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะที่เป็นแป้งและน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตมีความสำคัญต่อทั้งการทำงานและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต เป็นสารชีวโมเลกุลที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เป็นสารตัวกลางในระบบเมแทบอลิซึม และเป็นองค์ประกอบของเซลล์ คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยธาตุหลักคือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยอะตอม ของ H : O = 2 :1 เช่น C3H6O3 , C6H12O6 และ (C6H10O5)n เป็นต้น
คาร์โบไฮเดรตแบ่งตามโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
                                 1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (มอนอแซ็กคาไรด์) กลูโคส ฟรุกโตส กาแลสโตส ซึ่งมีสูตร (C6H12O6) เหมือนกัน 


Maltose


          ซูโครส เกิดจาก กลูโคส+ฟรุกโตส (น้ำตาลทราย)
  

                            แลกโตส เกิดจาก กลูโคส + กาแลกโตส เป็นน้ำตาลในนม

          
              3. พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ เช่น แบะแซ หรือเดกตริน 
  • ป้ง เป็นอาหารสะสมในเซลล์พืช ประกอบด้วยโพลีเมอร์ของกลูโคสสองชนิดคือ อะไมโลส ไม่แตกกิ่ง ต่อด้วย (α1→4) กับอะไมโลเพกติน เป็นสายโพลีแซคคาไรค์ที่แตกกิ่ง โดยส่วนที่เป็นเส้นตรงต่อด้วย (α1→4) และส่วนที่แตกกิ่งต่อด้วย (α1→6)
  • ไกลโคเจน เป็นอาหารสะสมในเซลล์สัตว์ มีโครงสร้างคล้ายอะไมโลเพกตินแต่แตกกิ่งมากกว่า
  • เซลลูโลส เป็นโครงสร้างของเซลล์พืช ลักษณะเป็นโซ่ตรงของกลูโคส ไม่แตกกิ่ง ต่อกันด้วยพันธะ (β1→4)
  • ไคติน เป็นโครงสร้างของเซลล์สัตว์ พบในเปลือกหอย กุ้ง ปู เป็นโฮโมโพลีแซคคาไรด์ของ N-acetyl-D-glucosamine ต่อกันด้วยพันธะ β
  • เปบทิโดไกลแคน เป็นโครงสร้างของเซลล์แบคทีเรีย ประกอบด้วยโพลีแซคคาไรด์ของ N-acetylglucosamine และ N-acetylmuramic acid ต่อกันด้วยพันธะ (β1→4)
  • ไกลโคซามิโนไกลแคน เป็นส่วนประกอบของสารที่อยู่ระหว่างเซลล์สัตว์ ประกอบด้วยสยโพลีแซคคาไรด์ของน้ำตาลโมเลกุลคู่ซ้ำๆกัน คือ hyaluronic acid (ประกอบด้วย glucoronic acid กับ acetylglucosamine)

                           

           เครดิต: ข้อมูล wikipedia            
                                  หนังสือสรุปชีวะวิทยาของ จิรัสย์ เจนพาณิชย์
                        รูปภาพจาก
                                  google




                                        


          

1 ความคิดเห็น: